กลุ่มที่ปรึกษาเยาวชนอาเซียน ภายใต้โครงการเสริมสร้างความฉลาดรู้ด้านดิจิทัลในอาเซียน

ข้อกำหนด และ เงื่อนไข


ความเป็นมา

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ได้นำมาซึ่งการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิด รวมถึงข้อมูลบิดเบือน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้รับการตรวจสอบและมีการแพร่กระจายไปในวงกว้าง จนถึงขั้นที่สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ได้จัดให้การแพร่กระจายของข้อมูลเท็จดังกล่าวเป็นภัยใหญ่หลวงต่อสังคม

อาเซียนเองก็ยังขาดภูมิคุ้มกันต่อสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่ถือเป็นกลุ่มเปราะบางต่อการบ่มเพาะความรุนแรง ถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชัง ข่าวลวง และ การไม่ยอมรับความเห็นต่าง

ตามที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ทำการสำรวจ ร้อยละ ๕๔​ ของผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มเยาวชนไม่ทราบว่าควรรับมือกับเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังและความรุนแรงอย่างไร

อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาบ่งชี้ข้อมูลเชิงบวกเช่นกันว่า ร้อยละ ๙๒ ของเยาวชนผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยว่าความสามารถในการเข้าใจและแยกแยะเนื้อหาในสื่อและข้อมูลจะช่วยให้เยาวชนสามารถปกป้องตนเองจากกลุ่มผู้นิยมความรุนแรงและถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชังได้ดียิ่งขึ้น

อาเซียนกำลังริเริ่มก้าวสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิด และ ข้อมูลบิดเบือน โดยในปีพ.ศ. ๒๕๖๑ รัฐมนตรีอาเซียนที่มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านข้อมูลได้มีการตอบรับแผนงานและแถลงการณ์ต่อการลดผลกระทบที่เป็นอันตรายของข่าวลวง

นอกจากนี้ อาเซียนยังได้เปิดตัวโครงการเสริมสร้างความฉลาดรู้ด้านดิจิทัลในอาเซียน (ASEAN Digital Literacy) เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยทางไซเบอร์ ภายใต้เป้าหมายการรับมือกับการปล่อยข้อมูลเท็จโดยเจตนา รวมถึงในปีพ.ศ. ๒๕๖๔ ได้มีการพัฒนาแนวทางสำหรับการอบรมวิทยากรมืออาชีพที่มุ่งเป้าไปที่ครูในระดับชั้นมัธยมปลายและอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจต่อข้อมูลดิจิทัลในกลุ่มเยาวชน

เพื่อต่อยอดจากโครงการดังกล่าว ทางมูลนิธิอาเซียน ภายใต้การสนับสนุนจาก Google.org จึงได้มีการริเริ่มโครงการเสริมสร้างความฉลาดรู้ด้านดิจิทัลในอาเซียน (ASEAN Digital Literacy Programme: ADLP) ในพ.ศ. ๒๕๖๕ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๗

โครงการในระดับภูมิภาคดังกล่าว มีเป้าหมายต่อต้านการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิด และ ข้อมูลบิดเบือนในภูมิภาค ผ่านการจัดการอบรมความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่น ให้แก่เยาวชน ครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และ ข้าราชการ

ในโครงการจะมีการรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของความเข้าใจต่อสื่อและข้อมูลแก่ผู้รับสารในวงกว้างและกระตุ้นให้ผู้มีส่วนร่วมในโครงการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนการเปลี่ยนแปลงที่จะมีส่วนช่วยในการตรวจจับและป้องกันการแพร่กระจายของข่าวลวงและข้อมูลเท็จ

เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทางมูลนิธิอาเซียนภายใต้การสนับสนุนจาก Google.org จะมีการจัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาเยาวชน (Youth Advisory Group: YAG) ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนเยาวชนที่ได้รับเลือกจาก ๑๐ ประเทศอาเซียน โดยกลุ่มที่ปรึกษาเยาวชนจะมีส่วนสำคัญในการทำให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ของโครงการเสริมสร้างความฉลาดรู้ด้านดิจิทัลในอาเซียนจะไปถึงชุมชนตั้งแต่ระดับรากหญ้า

ในการดำเนินโครงการ กลุ่มที่ปรึกษาเยาวชนจะมีส่วนในกิจกรรมหลักหลายส่วน ตัวอย่างเช่น การรณรงค์เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ การวิจัยเชิงลึก และ การจัดการอบรม เป็นต้น โดยก่อนที่จะเข้าร่วมบทบาทข้างต้น เยาวชนในกลุ่มที่ปรึกษาเยาวชนจะได้รับการอบรมภายใต้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ผิด และ ข้อมูลบิดเบือน


เป้าหมาย

  • เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของทักษะและความเข้าใจในด้านดิจิทัลเพื่อต่อต้านการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดและข้อมูลบิดเบือน
  • เพื่อส่งเสริมประโยชน์ของโครงการแก่ผู้ได้รับประโยชน์ตั้งแต่ระดับรากหญ้า โดยเฉพาะในกลุ่มคนชายขอบ
  • เพื่อทำให้แน่ใจว่าการแทรกแซงภายใต้โครงการเสริมสร้างความฉลาดรู้ด้านดิจิทัลในอาเซียน เป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๘ แผนงานอาเซียนด้านเยาวชนปี ๒๕๖๔ และ แผนยุทธศาสตร์ด้านสื่อและสนเทศอาเซียน
  • เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงทักษะความเข้าใจทางด้านดิจิทัลและเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่ผิด และ ข้อมูลบิดเบือนให้แก่เยาวชน


ขอบเขตงาน

  • ทำงานในฐานะผู้ติดต่อในการวิจัยหรือสำรวจขั้นต้น
  • สนับสนุนกิจกรรมการวิจัยในการร่างแผนผังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
  • สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมจากเยาวชนจำนวนมาก ในกิจกรรมอบรมต่าง ๆ ของโครงการ
  • ออกแบบและดำเนินการโครงการรณรงค์ส่งเสริความตระหนักรู้เพื่อต่อต้านการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิด และ ข้อมูลบิดเบือนทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
  • ผลิตบทความและข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจต่อสื่อและข้อมูล เพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อหลากหลายแพลตฟอร์ม
  • ให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์แก่มูนิธิอาเซียนและพันธมิตรท้องถิ่นต่อปัญหาและแนวทางแก้ไขในการดำเนินงานด้านความรู้ความเข้าใจต่อสื่อและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
  • เข้าร่วมในการประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสในอาเซียน/คณะทำงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อเป้าหมายด้านสื่อและสนเทศอาเซียน


ข้อมูลสมาชิก

  • อายุ: อายุระหว่าง ๑๕ - ๓๕ ปี โดยกลุ่มที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้คุ้มครอง (ทางมูลนิธิอาเซียนจะมีแบบฟอร์มให้)
  • เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและความหลากหลาย: เยาวชนที่มีโอกาสถูกผลักให้อยู่ในกลุ่มคนชายขอบหรือขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะ สถานะทางเพศ ความพิการ สถานะทางสุขภาพ ความจำเป็นในการดูแล ชาติพันธุ์ อยู่ในสถานะผู้ลี้ภัย หรือ ผู้ไร้สัญชาติ รสนิยมทางเพศ หรือ รายได้ทางครอบครัว
  • ตัวแทนทางด้านภูมิศาสาตร์: เป็นเยาวชนของชาติสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐​ ประเทศ
  • ประสบการณ์การรณรงค์: เยาวชนที่มีประสบการณ์ในการรณรงค์หรือส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางไซเบอร์ หรือ ความรู้ความเข้าใจทางด้านดิจิทัลจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  • ประสบการณ์ในชีวิต: เยาวชนที่สามารถนำประสบการณ์ในชีวิตมาใช้ในการรณรงค์
  • ตัวตนโลกออนไลน์: เยาวชนที่มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย และ/หรือ มีการใช้งานโซเชียลมีเดีย


หมดเขตสมัครในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านลิงก์ต่อไปนี้ (กดที่นี่)

Showing 1 reaction

Please check your e-mail for a link to activate your account.

This site uses cookies to make your experience more efficient.OK